fbpx

แนะนำ 8 สิ่งที่คู่รักมือใหม่ต้องเตรียมก่อนการจัดงานแต่ง

การเตรียมตัวก่อนการจัดงานแต่งเป็นสิ่งที่คู่บ่าวสาวควรทำเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะช่วยให้คู่บ่าวสาวสามารถวางแผนงานได้อย่างถูกต้อง และสามารถกำหนดงบประมาณในการจัดงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยให้คู่บ่าวสาวรู้ว่าก่อนแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง และจัดเตรียมรายละเอียดต่างๆ ภายในงานครบแล้วหรือยัง เช่น การจัดเตรียมของใช้สำหรับพิธีต่างๆ เป็นต้น 

ดังนั้น ในบทความจึงได้รวบรวม 8 สิ่งที่คู่รักมือใหม่ต้องเตรียมก่อนจัดงานแต่ง โดยงานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง และมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน ไปดูกันเลย!

วิธีแพลนงานแต่ง

1. หาฤกษ์ยามสำหรับจัดงานแต่ง

สิ่งแรกที่คู่บ่าวสาวควรเตรียมก่อนจัดงานแต่ง คือ การหาฤกษ์ยามสำหรับจัดงานแต่ง โดยคู่บ่าวสาวควรเลือกฤกษ์ที่มีความเป็นสิริมงคล และเหมาะสมกับคู่บ่าวสาว เช่น มหัทธโนฤกษ์ หรือภูมิปาโลฤกษ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ คู่รักส่วนใหญ่มักจะเลือกจัดงานแต่งในช่วงปลายปี เพราะนอกจากจะเป็นช่วงที่มีฤกษ์ดีแล้ว ยังเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนเกินไป และไม่มีฝน แต่มีข้อจำกัด คือ เป็นช่วงที่หาสถานที่จัดงานแต่งค่อนข้างยาก ดังนั้น คู่บ่าวสาวจึงควรรีบหาฤกษ์ เพื่อจะได้ทราบว่างานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง และจะได้วางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเลือกจัดงานในช่วงต้นปี หรือกลางปีแทนตามวันที่ตนเองสะดวกก็ได้เช่นกัน

การเตรียมงานแต่งแบบไทย

2. ปรึกษาญาติผู้ใหญ่ถึงเรื่องสินสอด

การปรึกษาญาติผู้ใหญ่ถึงเรื่องสินสอด ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่เจ้าบ่าวต้องเตรียมในการจัดงานแต่งงาน โดยทำการตกลงระหว่างฝ่ายเจ้าสาวและฝ่ายเจ้าบ่าว ว่าสินสอดสำหรับขอเจ้าสาวแต่งงานนั้นมีจำนวนเท่าไร และฝ่ายเจ้าบ่าวสามารถหาสินสอดได้หรือไม่ พร้อมกับเจรจารายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินสอดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

ก่อน แต่งงาน ต้อง เตรียม อะไร บ้าง

3. กำหนดงบประมาณในการจัดงานแต่ง

การกำหนดงบประมาณในการจัดงานแต่ง เป็นสิ่งที่คู่บ่าวสาวต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้จัดงานเกินงบประมาณ จนอาจทำให้คู่บ่าวสาวจะต้องไปหยิบยืมจากคุณพ่อคุณแม่ หรือบุคคลอื่นๆ 

โดยควรวางแผนเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องใช้ภายในงาน เช่น รูปแบบงาน ธีมงานแต่ง สถานที่จัดงาน อาหาร และของชำร่วย เป็นต้น รวมถึง สิ่งที่ต้องเตรียมอื่นๆ ในการจัดงานแต่ง เพื่อให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายคร่าวๆ และสามารถกำหนดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดงานได้อย่างถูกต้อง

แต่งงานต้องใช้เงินเท่าไหร่

4. จัดวางแผนรายละเอียดต่างๆ

การจัดวางแผนรายละเอียดต่างๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้คู่บ่าวสาวสามารถกำหนดงบประมาณได้ และช่วยให้คู่บ่าวสาวรู้ว่าการจัดงานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง โดยรายละเอียดต่างๆ ที่คู่บ่าวสาวควรวางแผนให้ละเอียด และถี่ถ้วน มีดังนี้

• รูปแบบพิธี

รูปแบบพิธี เป็นสิ่งที่คู่บ่าวสาวควรเลือกก่อนทำการวางแผนรายละเอียดอื่นๆ เพื่อจะได้ทราบว่าก่อนแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง เพราะว่ารูปแบบพิธีของงานแต่งในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพิธีงานแต่งแบบไทย พิธียกน้ำชาแบบจีน หรือพิธีงานแต่งแบบคริสต์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่คู่บ่าวสาวมักจะนิยมเลือกพิธีงานแต่งแบบไทย เพราะว่ามีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แต่ถ้าหากคู่บ่าวสาวคู่ไหนอยากจะจัดงานแต่งด้วยรูปแบบพิธีอื่นๆ ที่ตัวเองชอบก็สามารถจัดได้เช่นกัน

• ธีมงานแต่ง

การเลือกธีมงานแต่งงาน เป็นอีกสิ่งที่คู่บ่าวสาวหลายๆ คู่ตั้งตารอเป็นอย่างมาก เพราะว่าการเลือกธีมแต่งงานนั้นสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมของคู่บ่าวสาว และเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยให้งานแต่งดูอบอุ่น เป็นกันเอง และสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยธีมงานแต่งในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นธีมงานแต่งสไตล์มินิมอล, ธีมงานแต่งแบบโมเดิร์น, ธีมงานแต่งสไตล์เอิร์ธโทน หรือธีมงานแต่งในสวน เป็นต้น ซึ่งคู่บ่าวสาวสามารถเลือกธีมงานแต่งตามความชื่นชอบของตัวเองได้เลย

• สถานที่จัดงาน

สำหรับสถานที่จัดงานแต่งงานนั้นคู่บ่าวสาวควรเลือกให้เหมาะสมกับธีมงานแต่งที่ได้เลือกไว้ เพื่อให้บรรยากาศภายในงานนั้นดูกลมกลืน และเข้ากันมากที่สุด โดยสถานที่จัดงานแต่งนั้นอาจจะเป็นที่โรงแรม, บ้าน, ริมทะเล, สวนธรรมชาติ, Wedding Avenue หรือสถานที่อื่นๆ ที่คู่บ่าวสาวชื่นชอบเป็นพิเศษก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้น ยังควรเลือกสถานที่ที่สามารถเดินทางได้ง่าย เพื่อความสะดวกสบายของคู่บ่าวสาวและแขกที่มาเข้าร่วมงาน

• อาหาร

สำหรับรูปแบบของอาหารที่จัดเลี้ยงภายในงานแต่งที่นิยมนั้นมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะจีน, บุฟเฟ่ต์ และค็อกเทล เป็นต้น ซึ่งคู่บ่าวสาวนั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนแขก สถานที่ และความสะดวกสบายในการรับประทานมากที่สุด เพื่อให้แขกทุกท่านได้ทานอาหารอย่างทั่วถึง และป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้

• ของชำร่วย

การเลือกของชำร่วยงานแต่งเป็นสิ่งที่คู่บ่าวสาวจะต้องควรให้ความใส่ใจเช่นกัน โดยคู่บ่าวสาวอาจจะเลือกจากการใช้งานจริง เช่น สมุดโน้ต และผ้าขนหนู หรืออาจเลือกเป็นของชำร่วยที่กินได้ เช่น มาการอง หรือไวน์ รวมถึง  สามารถเลือกตามธีมงานแต่ง หรือของชำร่วยตามเทรนด์ เพื่อให้แขกที่มาร่วมงาน หรือผู้รับนั้นประทับใจมากที่สุด และรับรู้ได้ว่าคู่บ่าวสาวนั้นตั้งใจเลือกมาเป็นอย่างดี

บทพูดงานแต่งต้องพูดอะไรบ้าง

5. จัดหาผู้ดำเนินพิธีการต่างๆ ภายในงาน

ภายในงานแต่งควรจัดหาผู้ดำเนินพิธีการต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในพิธีส่วนนั้นๆ มากที่สุด เช่น ผู้นำแห่ขันหมากที่จะช่วยให้พิธีแห่ขันหมากนั้นดำเนินไปอย่างถูกต้องตามประเพณี หรือพิธีกรที่จะช่วยให้บรรยากาศภายในงานนั้นราบรื่น และเป็นธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้น คู่บ่าวสาวจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดหาผู้ดำเนินพิธีการต่างๆ ภายในงานเป็นอย่างมาก 

6. นัดครอบครัวของคู่บ่าวสาวมาพบปะกัน

หลังจากทำการวางแผนรายละเอียดต่างๆ เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไป คือ การนัดครอบครัวของคู่บ่าวสาวมาพบปะกันอีกครั้ง เพื่อให้ครอบครัวของทั้ง 2 ฝ่ายนั้นทราบว่าพิธีการต่างๆ ภายในงานเป็นอย่างไรบ้าง มีรูปแบบ และขั้นตอนในการจัดงานแบบไหน จะได้ทราบว่าครอบครัวนั้นเห็นด้วยกับรายละเอียดงานที่วางแผนมาหรือไม่ และมีส่วนไหนต้องปรับปรุงหรือเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้คู่บ่าวสาวนั้นรู้ว่าตนเองเตรียมสิ่งที่จำเป็นในงานแต่งครบถ้วนหรือไม่ ถ้าหากไม่ครบจะได้มีเวลาในการจัดหาก่อนถึงวันจัดงาน

สิ่ง ที่ เจ้าบ่าว ต้อง เตรียมก่อนแต่งงาน

7. เตรียมแหวนสำหรับคู่บ่าวสาว

สิ่งที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องเตรียม และห้ามลืมอย่างเด็ดขาด คือ แหวนสำหรับคู่บ่าวสาว โดยการเตรียมแหวนนั้นควรเริ่มจากการกำหนดงบประมาณในการซื้อแหวน หลังจากนั้นจึงค่อยเลือกแหวนตามความชอบ หรือรสนิยมของคู่บ่าวสาว และที่สำคัญ คือ จะต้องเลือกวัสดุที่มีความคงทน เพราะว่าคู่บ่าวสาวจะต้องใส่แหวนวงนี้ไปอีกหลายปี และต้องเลือกซื้อจากร้านแหวนแต่งงานที่สามารถเชื่อถือได้เท่านั้น

พิธีแห่ขันหมาก

H2

8. เตรียมของใช้สำหรับพิธีการต่างๆ ให้ครบถ้วน

สำหรับพิธีการต่างๆ ภายในงานนั้นจะต้องมีสิ่งของที่ต้องใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งรูปแบบของพิธีสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แบบไทย แบบจีน หรือแบบคริสต์ เป็นต้น แต่คู่บ่าวสาวส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้พิธีแบบไทย ดังนั้น ในส่วนต่อไปนี้จะพาคู่บ่าวสาวไปดูว่าพิธีงานแต่งแบบไทยนั้น เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องเตรียมอะไรบ้าง โดยของใช้สำหรับพิธีการต่างๆ มีทั้งหมด ดังนี้

H3

พิธีแห่ขันหมาก

พิธีแห่ขันหมาก เป็นพิธีที่เจ้าบ่าวจัดเตรียมขบวนขันหมากเพื่อสู่ขอเจ้าสาว ซึ่งจะเริ่มเคลื่อนขบวนก็ต่อเมื่อถึงฤกษ์เวลามงคลที่ได้จัดหาไว้ โดยของใช้สำหรับพิธีแห่ขันหมากนั้นมีทั้งหมด ดังนี้

  • พานขันหมาก ประกอบไปด้วยหมาก 8 ผล, พลูเรียง 4 แถว (แถวละ 8 ใบ), ถุงเงิน 2 ใบ, ถุงทอง 2 ใบ พร้อมกับบรรจุด้วยถั่วเขียว, งาดำ, ข้าวเปลือก, ข้าวตอก และซองเงิน 1 ซองลงไปในพานขันหมาก
  • พานสินสอดทองหมั้น ประกอบไปด้วยขันใส่เงิน ทอง หรือของหมั้นตามที่ตกลงกันไว้ พร้อมกับใส่ถั่ว, งา, ข้าวเปลือก และข้าวตอกลงไปในถุงใบเล็กๆ ไว้ภายในพานสินสอด
  • พานแหวนหมั้น หรือแหวนแต่งงาน เป็นพานที่มีการออกแบบให้สามารถรองแหวนได้
  • พานธูปเทียนแพ ประกอบไปด้วยธูป เทียนแพ และกระทงดอกไม้
  • พานต้นกล้วย และต้นอ้อย ประกอบไปด้วยต้นกล้วย 1 คู่ และต้นอ้อย 1 คู่
  • พานขันหมากโท ประกอบไปด้วยพานไก่ต้ม หรือหมูนอนตอง, พานผลไม้ (กล้วย, มะพร้าว, ส้มโอ) และพานขนมมงคล
  • พานเชิญขันหมาก เป็นพานที่ต้องจัดเตรียมโดยฝ่ายหญิง ประกอบไปด้วยหมาก, พลูจีบ และยาเส้น ซึ่งแต่ละอย่างนั้นจะต้องเป็นเลขคู่

พิธีสงฆ์

พิธีสงฆ์ เป็นพิธีที่ทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคู่ของบ่าวสาว โดยคู่บ่าวสาวจะต้องทำการตักบาตรร่วมกัน และนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนิยมนิมนต์พระ 9 รูป เพราะถือว่าเป็นเลขที่มีความเป็นสิริมงคล และสื่อถึงความก้าวหน้า รวมถึง เมื่อนับรวมกับพระประธานก็จะได้เป็นเลขคู่พอดี โดยของใช้สำหรับพิธีสงฆ์มีทั้งหมด ดังนี้

  • ชุดโต๊ะหมู่บูชา สำหรับวางพระพุทธรูป เพื่อเป็นพระประธานของพิธีสงฆ์
  • เครื่องสักการะบูชาบนโต๊ะหมู่บูชา ประกอบไปด้วยแจกันดอกไม้ 2 ชุด, ธูป 3 ดอก, เทียนสีเหลือง 2 เล่ม, เทียนต่อ 1 เล่ม, เชิงเทียน และกระถางธูป
  • ของใช้สำหรับพระสงฆ์ ประกอบไปด้วยอาสนะ 9 ที่, ชุดดอกไม้ธูปเทียนสำหรับถวายพระ 9 ชุด, กระโถน, แก้วน้ำ, กระดาษชำระแบบแผ่น, ที่กรวดน้ำ และพานใส่ของถวายพระ
  • ของใช้สำหรับการตักบาตรร่วมกัน ประกอบไปด้วยอาหารสำหรับตักบาตร, ขันข้าว และทัพพี
  • ของใช้อื่นๆ เพื่อประกอบพิธี ประกอบไปด้วยชุดเครื่องสักการะสำหรับพระพุทธเจ้า และพระภูมิเจ้าที่, ขันน้ำมนต์ และที่สำหรับประพรมน้ำมนต์, แป้งเจิม, ด้ายสายสิญจน์สำหรับทำพิธี และสายสิญจน์สำหรับทำเป็นมงคลคู่

พิธีสู่ขอ และตรวจนับสินสอด

พิธีสู่ขอ และตรวจนับสินสอด เป็นพิธีที่ฝ่ายเจ้าบ่าวนำพานต่างๆ ในพิธีขันหมากมาเรียงไว้บนโต๊ะด้านหน้าของพิธี และพิธีกรก็จะเรียนเชิญครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายขึ้นมาบนเวที โดยให้ครอบครัวของเจ้าสาวนั่งทางซ้าย และครอบครัวของเจ้าบ่าวนั่งทางขวา เพื่อให้ฝ่ายเจ้าสาวนั้นได้ทำการตรวจนับสินสอดพอเป็นพิธี และอนุญาตให้เจ้าบ่าวไปรับเจ้าสาวมายังพิธีการ ก่อนจะทำการตรวจนับสินสอดอีกครั้ง โดยของใช้สำหรับพิธีสู่ขอ และตรวจนับสินสอดมีทั้งหมด ดังนี้

  • พานสำหรับวางสินสอด เพื่อให้แม่เจ้าสาวตรวจนับสินสอดทั้งหมดอีกครั้ง
  • ของต่างๆ ที่ใช้สำหรับวางบนพานสินสอด ประกอบไปด้วยใบพลู, ใบหมาก, ใบเงิน, ใบทอง, ใบรัก และผ้าสีแดง หรือผ้าเงินผ้าทอง
  • ของต่างๆ ที่ใช้สำหรับโรยพานวางสินสอด ประกอบไปด้วยถั่ว, งา, ข้าวตอก และดอกไม้

พิธีหมั้น

พิธีหมั้น เป็นพิธีที่คู่บ่าวสาวจะทำการสวมแหวนให้กันและกัน โดยใช้เพียงพานแหวนหมั้น หรือแหวนแต่งงานเท่านั้น โดยเจ้าสาวจะทำการกราบเจ้าบ่าว 1 ครั้งที่ตัก หรืออก และเจ้าบ่าวก็จะต้องรับไหว้เจ้าสาวด้วยการยกมือพนมรับไหว้ หลังจากเจ้าบ่าวจะสวมแหวนให้เจ้าสาวที่นิ้วนางข้างซ้าย และเจ้าสาวก็จะทำการกราบเจ้าบ่าวอีกครั้ง เพื่อเป็นการขอบคุณ และเจ้าสาวก็จะสวมแหวนให้กับเจ้าบ่าวที่นิ้วนางข้างซ้ายเช่นกัน เป็นอันเสร็จพิธีหมั้น

พิธีรับไหว้

พิธีรับไหว้ เป็นพิธีที่แสดงออกถึงความเคารพ และความนอบน้อมต่อพ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่ โดยเป็นการฝากเนื้อฝากตัวของคู่บ่าวสาว ซึ่งพ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่จะทำการรับไหว้จากคู่บ่าวสาวด้วยการให้ของตอบแทน หรือให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว โดยของใช้สำหรับพิธีรับไหว้มีทั้งหมด ดังนี้

  • พานธูปเทียนแพ ใช้สำหรับไหว้แสดงเคารพพ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่
  • สายสิญจน์ หรือด้ายมงคล ใช้สำหรับผูกข้อมือให้กับคู่บ่าวสาว โดยตัดแบ่งให้มีความยาวพอประมาณ

พิธีรดน้ำสังข์

พิธีรดน้ำสังข์ หรือพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ และประสาทพร เป็นพิธีมงคลที่พ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ และแขกที่มาร่วมงานจะหลั่งน้ำอวยพรให้แก่คู่บ่าวสาว โดยของใช้สำหรับพิธีรดน้ำสังข์มีทั้งหมด ดังนี้

  • สายมงคล หรือมงคลแฝด ใช้สำหรับสวมลงบนศีรษะของคู่บ่าวสาว
  • พวงมาลัยคล้องคอ ใช้สำหรับคล้องคอคู่บ่าวสาว
  • อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับรดน้ำสังข์ ประกอบไปด้วยตั่งรดน้ำสังข์, หมอนสำหรับรองมือ, พานรองรับน้ำสังข์, ขันทองใส่น้ำมนต์ และหอยสังข์สำหรับรดน้ำสังข์

พิธีร่วมเรียงเคียงหมอน

พิธีร่วมเรียงเคียงหมอน หรือพิธีปูที่นอน และพิธีส่งตัวเข้าหอ เป็นพิธีที่พ่อ แม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพทำการปูที่นอนในเรือนหอให้คู่บ่าวสาว เพื่อความเป็นสิริมงคล และผู้ที่ปูที่นอนให้นั้นจะทำการจัดเรียงหมอน 2 ใบและปัดที่นอนพอเป็นพิธี พร้อมกับจัดวางข้าวของประกอบพิธีลงบนที่นอน หลังจากนั้นจะให้คู่บ่าวสาวนอนลงบนเตียง โดยให้เจ้าสาวนอนทางซ้าย และเจ้าบ่าวนอนทางขวา พร้อมกับกล่าวคำอวยพรที่เป็นมงคล โดยของใช้สำหรับพิธีร่วมเรียงเคียงหมอนมีทั้งหมด ดังนี้

  • หมอน 2 ใบ ใช้สำหรับประกอบพิธี
  • ของมงคลสำหรับทำพิธี ประกอบไปด้วยหินบดยา, ไม้เท้า, ฟักเขียว, แมวคราว (แมวตัวผู้ที่อายุมาก), ไก่ขาว, ขันใส่น้ำฝน, พานใส่ถุงข้าวเปลือก งา ถั่วทอง หรือถั่วเขียว, ขันน้ำมันต์ และที่พรมน้ำมันต์ และขันใส่ข้าวตอกดอกไม้ (ดอกรัก, มะลิ, กุหลาบ)

การจัดงานแต่งงาน ถือว่าเป็นอีกพิธีที่สำคัญของคู่บ่าวสาว ดังนั้น คู่บ่าวสาวจึงควรเตรียมตัวก่อนจัดงานแต่งให้ดี เพื่อจะได้ทราบว่างานแต่งงานต้องเตรียมอะไรบ้าง และจะได้เตรียมสิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้ภายในงานได้อย่างครบถ้วน พร้อมกับวางแผนรายละเอียดต่างๆ ภายในงาน และขั้นตอนในการดำเนินงานของแต่ละพิธีนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อให้วันสำคัญของคู่บ่าวสาวนั้นเป็นวันที่มีความสุขมากที่สุด และเป็นความทรงจำที่ดีสุด