10 มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา มาเที่ยว ชม กินกันได้ที่นี่
เมื่อเอ่ยถึงอาณาจักรล้านนา เชื่อว่าหลายคนก็คงจะรู้กันอยู่แล้วว่า ในอดีตอาณาจักรล้านนาเคยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ วัฒนธรรม หรือประเพณีอันดีงาม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่มีความสงบสุขร่มเย็น จึงไม่อยากพลาดที่จะพาไปดู 10 มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาที่สืบเนื่องตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงหลงเหลือให้ลูกหลานได้ชื่นชมมาจนถึงทุกวันนี้
ความเป็นมาของล้านนา
อาณาจักรล้านนามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีต คำว่า ‘ล้านนา’ หมายถึงดินแดนที่มีนานับล้าน มีผู้คนอาศัยอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ ลั๊วะ ลื้อ ยอง มอญ ม่านหรือพม่า เงี้ยวหรือไทยใหญ่ เขินหรือขึน ครงหรือคง ยางหรือกะเหรี่ยง ถิ่นหรือขมุ เป็นต้น ซึ่งผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา และจารีตประเพณีต่างๆ กลุ่มชาติพันธุ์แรกๆ นั้นอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยมีศูนย์กลางสำคัญเป็นเมืองราชธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือเมืองเชียงใหม่
5 แหล่งท่องเที่ยว ชมมรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา
เมื่อได้ทำความรู้จักความเป็นมาของอาณาจักรล้านนากันไปแล้ว สำหรับใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อยากชมมรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา มาดูกันว่าจะมีที่ไหนน่าสนใจ และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลย
1. วัดเจดีย์หลวง
เริ่มต้นกันกับสถานที่แรก วัดเจดีย์หลวง สถาปัตยกรรมสุดยิ่งใหญ่ และเป็นวัดที่มีความเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ ประดิษฐานเสาอินทขิล และเรียกได้ว่าเป็นพระอารามหลวงแบบสมัยโบราณที่ได้มีการบูรณะมาหลายสมัยแล้ว โดยเฉพาะพระเจดีย์หลวง ซึ่งสมัยปัจจุบันมีขนาดความกว้างประมาณ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญ และชาวเชียงใหม่เคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก
ในสมัยก่อน วัดเจดีย์หลวงถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล้านนา นอกจากนี้แล้ว ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย หากใครมีโอกาสได้ไปเชียงใหม่ต้องไม่พลาดไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่วัดเจดีย์หลวงเด็ดขาด
- ที่อยู่: 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พิกัด: Wat Chedi Luang
- เวลาเปิด-ปิด : 05.00-10.00 น.
2. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นวัดเก่าแก่ อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 640 ปี อัดแน่นไปด้วยศิลปกรรมที่มีความสวยงาม และถูกสร้างด้วยช่างฝีมือชาวล้านนา ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมฉบับล้านนา จึงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างพากันเข้ามาชมความงดงามนี้ และที่สำคัญคนส่วนใหญ่ก็มักจะเดินทางมาขอพรพระสิงห์ หรือพระพุทธสิหิงค์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล อีกทั้งสถานที่แห่งนี้ยังมีพระธาตุที่ตรงกับปีมะโรงอีกด้วย
- ที่อยู่ : 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พิกัด : Wat Phra Singh Woramahawihan
- เวลาเปิด-ปิด : 09.00-18.00 น.
3. วัดเชียงมั่น
วัดเชียงมั่น วัดแรกแห่งเมืองเชียงใหม่ สร้างโดยพ่อขุนเม็งรายในปีพ.ศ. 1839 มรดกทางวัฒนธรรมนี้อัดแน่นไปด้วยประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจ ทั้งเป็นศูนย์กลางการศึกษา และเป็นสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่สำคัญยังมีการประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีความสำคัญอย่างพระแก้วขาว หรือเสตังคมณี นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญมากมาย หากมีโอกาสมาเยือนเมืองเชียงใหม่ ไม่ควรพลาดเดินทางมาชมศิลปะล้านนาสุดล้ำค่า เจดีย์ช้างล้อม เจดีย์ประธานศิลปะล้านนา พร้อมกับสักการะพระเสตังคมณี เพื่อเสริมสิริมงคล
- ที่อยู่ : ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พิกัด : Wat Chiang Man
- เวลาเปิด-ปิด : 05.00-21.00 น.
4. วัดเจ็ดยอด
วัดเจ็ดยอด หรือวัดโพธารามมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา เป็นวัดเก่าแก่ที่มาพร้อมกับความสวยงามอลังการ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโบราณสถานของเชียงใหม่ และทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญมากๆ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เคยจัดการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกของไทย และครั้งที่ 8 ของโลก ที่สำคัญ ภายในวัดก็อัดแน่นไปด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม อย่างทรงยอดปรางค์ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันเจ็ดยอด พร้อมทั้งรูปเทวดาเรียงรายอยู่รอบๆ เปรียบเสมือนผู้ปกปักรักษาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เอาไว้
- ที่อยู่ : 90 ถนนซูเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พิกัด : Wat Jed Yot, Phra Aram Luang
- เวลาเปิด-ปิด : 06.00-18.00 น
5. วัดสวนดอก
วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม สร้างโดยแรงศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธ และเมื่อปีพ.ศ 2533 ก็ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งภายในวัดก็อัดแน่นไปด้วยสถานที่สำคัญมากมาย อาทิ พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา พระเจ้าเก้า และตื้อธรรมาสน์เทศนาแบบล้านนา โดยสามารถแวะเวียนไปถ่ายรูป กราบไหว้สักการะเสริมความเป็นสิริมงคลกันได้เลย
- ที่อยู่ : 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พิกัด : Wat Suan Dok
- เวลาเปิด-ปิด : 09.00-21.00 น.
5 มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา
มรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาไม่ได้มีเฉพาะโบราณสถานเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิถีชีวิต และประกอบไปด้วยอาหารการกินที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป แล้วจะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย!
1. ตุงปีใหม่เมือง
มรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากชาวล้านนา มักจะนำไปใช้ช่วงงานปีใหม่ ตุง ๑๒ นักษัตร หรือที่คนล้านนา สมัยก่อนมักจะเรียกกันว่า ‘ตุงปีใหม่เมือง’ นั่นเอง ซึ่งจะมีการนำไปถวายเป็นพุทธบูชาพร้อมกับเจดีย์ทรายของประเพณีปีใหม่เมือง วัสดุที่ได้มีการนำมาทำผืนตุงนั้นทำมาจากกระดาษสา หรือกระดาษว่าว สามารถเลือกสีได้ตามวันเกิด แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องมีรูป ๑๒ นักษัตร เพื่อใช้ในการสะเดาะเคราะห์ เสริมสิริมงคลให้แก่ตนเอง
2. กำปั๋นปอนปีใหม่เมือง
กำปั๋นปอนปีใหม่เมือง คือคำอวยพรที่ผู้อาวุโสมักจะเอ่ยให้แก่ลูกหลานที่ได้เดินทางไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เปรียบเสมือนการแสดงความเคารพในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์ โดยคำอวยพรดังกล่าวนี้มักจะพบเห็นมากในช่วงของวันปีใหม่ไทย เป็นคำอวยพรที่มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนา ได้รับการยอมรับว่าผ่านการเรียบเรียงมาอย่างครบถ้วน และมีภาษาที่สวยงาม ไม่เยิ่นเย้อจนเกินไป
3. ตุงทราย
ตุงทราย เป็นสิ่งที่มักจะนำไปใช้สำหรับการถวายเป็นพระพุทธบูชา ซึ่งจะมีการใช้ปากเจดีย์ทราย มักจะพบเห็นในช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง โดยจะมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักจะมีการทำเป็นรูปเทวดา ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมนี้มีจุดมุ่งหมายที่ทำกันมายาวนาน คือทำเพื่อที่จะถวายเทพเทวดาที่ได้มีการปกปักรักษาดูแลผู้คน และเพื่อขอขมาสิ่งที่ได้มีการล่วงเกินในปีที่ผ่านๆ มา และมักจะนำไปปักบนเจดีย์ทรายพร้อมกับตุงอื่นๆ เช่น ตุงช่อน้อย เป็นต้น เมื่อโดนลมพัดก็จะโบกปลิวไปมาอย่างสวยงามบนเจดีย์ทรายนั่นเอง
4. ต๋ำบ่าโอ
อาหารการกินเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยล้านนา ตัวอย่างเช่น ตำส้มโอ หรือต๋ำบ่าโอ ซึ่งเป็นต้นตำรับอาหารที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีวิธีการปรุงสุดแปลกใหม่ฉบับชาวล้านนา คือนำมาตำ โดยการนำส่วนผสมที่มีความสำคัญอย่างส้มโอไปตำรวมกับเครื่องปรุง แล้วนำไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ชาวล้านนาสมัยก่อนมักจะนิยมใส่น้ำปูเพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มรสชาติให้กลายเป็นอาหารที่แสนพิเศษอีกด้วย
5. แก๋งบ่าหนุน
อีกหนึ่งเมนูของชาวอาณาจักรล้านนาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็คือแกงขนุน หรือที่ชาวล้านนาเรียกกันว่า แก๋งบ่าหนุน เชื่อกันว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล ส่วนใหญ่มักจะนิยมแก๋งบ่าหนุนในงานมงคล อาทิ งานแต่งงาน เพราะถือว่าเป็นเคล็ดลับที่จะทำให้คู่บ่าวสาวครองคู่กันได้อย่างยาวนาน และมีความเกื้อหนุนต่อกัน
สรุป
อาณาจักรล้านนาเป็นราชอาณาจักรของชาวไทยสมัยอดีต มีความเป็นมา และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งอยู่พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้มีการสืบสาน และส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนามาจนถึงปัจจุบันหล่อหลอมให้เกิดศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเที่ยวชมศิลปะ และวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์อันน่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไกลถึงภาคเหนือ เพราะจังหวัดนครราชสีมาก็มีมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญมากมายเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทนางรำ ปรางค์กู่สีดา ปราสาทพนมวัน ปราสาทสระเพรง เมืองโคราฆปุระ และเมืองพลับพลา เป็นต้น และถ้าหากได้มีโอกาสวางแผนมาเที่ยวที่นี่ ก็ไม่ควรพลาดมาแวะเวียน และพักผ่อนกันได้ที่ Rancho Charnvee Resort & Country Club ที่มีรูปแบบการตกแต่งห้องไม่เหมือนใคร พร้อมด้วยสไตล์คลาสสิค แถมยังอัดแน่นไปด้วยบรรยากาศธรรมชาติ พร้อมทั้งมีกิจกรรมสุดพิเศษให้ร่วมทำมากมาย